วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพิมพ์ธนบัตร

แหล่งที่มา : http://www.bot.or.th

การพิมพ์ ระบบการพิมพ์ที่ใช้มี 3 ระบบ คือ 
 
1. การพิมพ์สีพื้น ด้วยระบบออฟเซตแห้ง (Dry-offset) การพิมพ์สีพื้น เป็นงานพิมพ์ขั้นแรกของการผลิตธนบัตร โดยใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน จากคุณสมบัติข้อนี้ ทำให้ส่วนหนึ่งของภาพพิมพ์สีพื้น คือ พระครุฑพ่าห์บนด้านหน้าและด้านหลังทับกันสนิท นับเป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงอย่างหนึ่ง ซึ่งจะตรวจสอบได้ด้วยการยกส่องดูกับแสงสว่าง

  









2. การพิมพ์เส้นนูน ด้วยระบบอินทาลโย (Intaglio) เป็นที่ยอมรับกันในวงการพิมพ์ธนบัตรว่า งานพิมพ์เส้นนูน เป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากต้องใช้เครื่องพิมพ์แบบพิเศษ ที่มีแรงกดพิมพ์สูง เพื่อทำให้หมึกพิมพ์กองนูนบนผิวกระดาษ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความเข้มสูง เหมาะกับการพิมพ์ภาพประธานและส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นชัด เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ และตัวเลขบอกชนิดราคา บนด้านหน้าของธนบัตร เป็นต้น ซึ่งหากใช้ปลายนิ้วสัมผัส หรือวัตถุปลายแหลมลากผ่านเบาๆจะรู้สึกนูนสะดุดมือ

 

3. การพิมพ์เลขหมายลายเซ็น ด้วยระบบเลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress) การพิมพ์ขั้นตอนนี้ ใช้กรรมวิธีแบบ Letter-press มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อควบคุมการออกใช้ธนบัตร มากกว่าที่จะหวังผลในด้านการต่อต้านการปลอมแปลง โดยเลขหมายกำกับธนบัตรแต่ละฉบับที่เป็นแบบและชนิดราคาเดียวกันนั้น จะไม่ซ้ำกันเป็นอันขาด
 ระหว่างการพิมพ์ธนบัตรทั้ง 3 ระบบ จะมีการควบคุมคุณภาพการพิมพ์เพื่อให้เส้นลวดลายบนธนบัตรมีความคมชัดสม่ำเสมอทุกฉบับ





การป้องกันธนบัตรปลอม

การที่ยังมีผู้ผลิตหรือผู้พยายามนำธนบัตรปลอมมาใช้ ส่วนหนึ่งเกิดจากจุดอ่อนที่ว่า ผู้ใช้ธนบัตรมักไม่ค่อยสังเกตหรือไม่ทราบวิธีสังเกตธนบัตรที่ถูกต้อง
ดังนั้น วิธีป้องกันธนบัตรปลอมที่ให้ผลดีที่สุด ก็คือ การกระตุ้นเตือนให้ประชาชนสังเกต พร้อมกับการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีสังเกตธนบัตร เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างธนบัตรจริงกับธนบัตรปลอมได้ด้วยตนเอง ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันมิให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ทุจริตแล้ว
ยังมีส่วนช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของธนบัตรปลอมอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
        ท่านสามารถช่วยยับยั้งธนบัตรปลอมด้วยการปฏิบัติ  ดังนี้
  • สังเกตธนบัตรก่อนรับไว้ทุกครั้ง โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคาสูง
  • ไม่นำธนบัตรปลอมที่รับไว้แล้วออกใช้อีก เพราะมีความผิดตามกฎหมาย
  • หากมีผู้นำธนบัตรปลอมมาใช้กับท่าน ควรสอบถามรายละเอียด เช่น ได้มาอย่างไร จากใคร ที่ใด เป็นต้น
  • จดจำลักษณะรูปพรรณและสิ่งอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้นำมาใช้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลในการสืบสวนจับกุม
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ หรือโทรศัพท์แจ้งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
    โทร. ๐ - ๒๒๘๒ - ๗๔๐๙ และ ๐ - ๒๓๕๖ - ๗๙๘๗
             เพื่อให้การป้องปรามธนบัตรปลอมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปิดตู้ไปรษณีย์กลาง เพื่อรับแจ้งเบาะแสธนบัตรปลอมจากประชาชน โดยสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่...
ตู้ ปณ.๑๘ ปณฝ. วังเทวะเวสม์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๕


ผู้แจ้งเบาะแสแหล่งผลิต หรือแหล่งจำหน่ายธนบัตรปลอม
มีสิทธิได้รับเงินสินบนสูงสุดถึง ๑๐๐,๐๐๐ บ











































ที่มาจาก:              http://www.bot.or.th/

ภาพเงินสมัยเก่าของไทยในอดีต





รายชื่อธนาคารในประเทศไทย

ความเป็นมาของธนาคารเเห่งประเทศไทย

ธนาคารอาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม ออกแบบโดยบริษัท Plan Architectsและในปี ๒๕๕๐ สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่  ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์
t003
อาคารหลังที่สาม
   
   สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ  สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็นเช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด  พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕